การทดสอบเจาะระบบสารสนเทศ (Penetration Testing)

 

Updated: Nov 9, 2020

          กระบวนการและขั้นตอนในการทดสอบเจาะระบบสารสนเทศ โดยใช้หลักสูตร Certified Ethical Hacker (C|EH) ในการอ้างอิงเพราะเป็นหลักสูตรชั้นนำของโลกทางด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของบริษัท EC-Council สามารถแบ่งขั้นตอนได้ดังนี้

ขั้นตอนการเจาะระบบ (Hacking Phases)

การทดสอบเจาะระบบสารสนเทศ (Penetration Testing)

  1. Reconnaissance (การสอดส่องหรือลาดตระเวน) คือ ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของเครื่องเป้าหมาย เช่น หมายเลขไอพี ชื่อโดเมน รวมทั้งข้อมูลที่เผยแพร่อยู่บนอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ทีมงานสามารถเข้าใจเครื่องเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น และสามารถกำหนดแนวทางในการทดสอบที่เฉพาะเจาะจงลงไปได้

ยกตัวอย่างเครื่องมือ (Tools) ที่ใช้ในการ Reconnaissance

– ค้นหาข้อมูลจาก Search engine เช่น Google, Bing, Yahoเป็นต้น

– ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดบริษัท เช่น JobDB, Jobtopgun, Jobthai เป็นต้น

– ค้นหาข้อมูลบุคคลจากสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น Facebook, Instagram, Twitter เป็นต้น

– ค้นหาข้อมูลรายละเอียดเว็บไซต์ เช่น www.netcraft.com, whois.domaintools.com, pentest-tools.com เป็นต้น

 
  1. Scanning (สแกนระบบ) คือ การนำข้อมุลที่ได้จากขั้นตอน Reconnaissance เพื่อใช้ในการระบุข้อมูลเพิ่มเติมหรือเฉพาะเจาะจงลงไป เช่น ประเภทของเวอร์ชั่น, ระบบปฏิบัติการ แอพพลิเคชั่น,พอร์ตที่ให้บริการ เป็นต้น สำหรับการสแกนอีกประเภทซึ่งอยู่ในขั้นตอนนี้ก็คือ Vulnerability Scanning ซึ่งเป็นการค้นหาช่องโหว่ที่มีอยู่บนระบบ

ยกตัวอย่างเครื่องมือ (Tools) ที่ใช้ในการ Scanning

– Nmap
– SuperScan
– Nessus
– OpenVAS
– N-Stalker
– Nexpose
– Acunetix
– Nikto

 
  1. Gaining Access (การเข้าถึงเป้าหมาย) คือ การทดสอบเจาะระบบอย่างแท้จริง โดยการนำข้อมุลที่ได้จากขั้นตอน Scanning มาทำการวิเคราะห์ถึงวิธีการโจมตีและเครื่องมือต่างๆ เพื่อใช้ในการโจมตีช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจริงในการเจาะระบบ นำมาทดสอบกับเครื่องเป้าหมาย เพื่อยืนยันว่ามีช่องโหว่อยู่จริง

ยกตัวอย่างเครื่องมือ (Tools) ที่ใช้ในการ Gaining Access

– Sqlmap
– Aircrack
– Burp Suite
– Cain and Abel
– John the Ripper

 
  1. Maintaining Access (การคงสภาพทางเข้า) คือ ขั้นตอนหลังจากที่ Hacker ประสบความสำเร็จในการโจมตี จะดำเนินการเพิ่มสิทธิ์และช่องทางพิเศษสำหรับตนเอง โดยเฉพาะ ด้วยการฝัง Backdoor, Root kits และ Trojan ไว้ในเครื่องบนเครื่องเหยื่อ เพื่อให้สามารถย้อนกลับเข้ามาแปรสภาพเครื่องเหยื่อให้เป็นฐานในการโจมตีเครื่องอื่นๆ ทำให้บางครั้งเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อในลักษณะนี้จะถูกเรียกว่า “Zombie”

ยกตัวอย่างเครื่องมือ (Tools) ที่ใช้ในการ Maintaining Access

– Netcat
– plink

 
  1. Covering Tracks (การลบร่องรอย) คือ ขั้นตอนเมื่อ Hacker สามารถครอบครองได้อย่างสมบูรณ์และสร้างช่องทางเดิมไว้ใช้ต่อได้แล้ว ก็จะลบหลักฐานในการ Hack และร่องรอยของตัวมันเองออกไป เพื่อซ่อนตัวจากการถูกตรวจสอบจากผู้ดูแลระบบหรือการเอาผิดทางกฎหมายนั้นเอง โดยจะพยายามลบร่องรอยที่เกิดจากการเจาะระบบทั้งหมด เช่น Log File หรือข้อความแจ้งเตือนจาก Intrusion detection system (IDS) เป็นต้น

ยกตัวอย่างเครื่องมือ (Tools) ที่ใช้ในการ Covering Tracks

– Clearev
– KWrite

 
สามารถลงทะเบียนอบรมคอร์สทดสอบเจาะระบบได้ที่
https://www.tnetitsolution.co.th/penetration-testing/